top of page

OUR SCHOOL

         ผลการดำเนินงานของศูนย์นวัตกรรมการสอนและการเรียนรู้, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แบ่งตามยุทธศาสตร์หลัก 4 ยุทธศาสตร์ของ TLIC ได้แก่

 

         ยุทธศาสตร์ที่ 1 : การผลักดันการจัดการเรียนรู้ดิจิทัล (Digital Learning)

         ยุทธศาสตร์ที่ 2 : การพัฒนาอาจารย์ด้านการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21

         ยุทธศาสตร์ที่ 3 : การสร้างดิจิทัลเพลตฟอร์มเพื่อบริหารการจัดการเรียนรู้

         ยุทธศาสตร์ที่ 4 : การสนับสนุนการวิจัยและสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้

01

ผลักดันการจัดการเรียนรู้ดิจิทัล (Digital Learning)

  • การพัฒนาระบบบริหารจัดการการเรียนรู้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
    (CMU Learning Management System)

  • พัฒนาระบบใหม่ๆ เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งานคอร์สออนไลน์
    สำหรับการเรียนการสอนและการสอบออนไลน์

  • การพัฒนาเครื่องมือดิจิทัลอย่างง่ายในการส่งเสริมการเรียนรู้
    (Simple-to-Use Digital Learning Tools)

  • ระบบ Online Learning Support เพื่อสนับสนุนอาจารย์และบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในการใช้งานระบบและเครื่องมือดิจิทัล

ผลงานในยุทธศาสตร์ที่ 1 ผลักดันการจัดการเรียนรู้ดิจิทัล (Digital Learning)

โครงการ LMS :

     ในปี 2565 ศูนย์นวัตกรรมการสอนและการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้สนับสนุนและพัฒนาระบบสำหรับการจัดการการเรียนการสอน (Learning management System) หลายระบบด้วยกัน ได้แก่

  • KC Moodle (CMU Online, CMU E-learning) ระบบการเรียนการสอนดั้งเดิมที่ยังคงให้บริการอยู่ในปัจจุบัน อัดแน่นด้วยเครื่องมือสำหรับการสอนภายในระบบ Moodle ที่หลากหลาย และตอบโจทย์อาจารย์หลายๆท่าน ซึ่งในอนาคตจะมีการลดบทบาทลงเนื่องมาจากข้อจำกัดบางส่วนเกี่ยวกับตัวระบบ โปรดรอประกาศอย่างเป็นทางการจากทางมหาวิทยาลัยอีกครั้ง (ปัจจุบันในปีการศึกษา 2565 ยังคงสามารถใช้งานได้จนกว่าจะมีประกาศอย่างเป็นทางการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง)

  • CMU Exam Moodle ระบบสอบออนไลน์ที่จะช่วยให้การสอบออนไลน์เป็นเรื่องง่ายต่อการบริการจัดการข้อมูลจำนวนมาก ลดการใช้ทรัพยากร และมีความปลอดภัยสูง สามารถใช้งานร่วมกับโปรแกรมลดการทุจริตในการสอบอย่าง Safe Exam Browser (SEB) ได้เป็นอย่างดี มาพร้อมรูปแบบข้อสอบถึง 32 รูปแบบ และการตั้งค่าข้อสอบในเรื่องความปลอดภัย การระบุตัวตนในการสอบออนไลน์ และรองรับผู้เข้าสอบได้เป็นจำนวนมาก เรียกได้ว่าเป็นระบบสำหรับใช้สอบโดยเฉพาะ

  • CMU Canvas ระบบ LMS น้องใหม่ ที่ดูดี ใช้งานง่ายกว่าระบบเดิม และเป็นที่นิยมใช้ในมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วโลก เปิดให้บริการแล้ววันนี้ โดยจะเป็นระบบใหม่ที่ได้รับการผลักดันให้มีการใช้งานมากขึ้นในอนาคต

ระบบช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งานคอร์สออนไลน์ สำหรับการเรียนการสอนและการสอบออนไลน์ :

  • Online Learning Management ระบบบริหารจัดการวิชาออนไลน์ พร้อมช่วยนำเข้านักศึกษาโดยอัตโนมัติ สามารถนำเข้าเนื้อหาจากวิชาเดิมง่ายต่อการใช้งานคอร์สออนไลน์ ซึ่งมีแผนพัฒนาเป็น ระบบ Course Portal ในอนาคต

  • Online Exam Manager ระบบติดตามการสถานะแบบเรียลไทม์ ช่วยในการติดตามสถานะการทำข้อสอบและการบ้านของนักศึกษาพร้อมระบุพิกัด และ ช่วยรวบรวมช่องทางการเข้าสอบในที่เดียว ผ่านการเช็คอินในระบบ OEM เพื่อเข้า Zoom สำหรับสอบ และ เข้าสอบบนระบบ CMU Exam, KC Moodle หรือ Canvas ได้ในที่เดียว

  • Course Portal ระบบบริหารจัดการคอร์สออนไลน์ สำหรับการเรียนการสอน, การสอบออนไลน์ และ รวม Contact Point อย่าง MS Teams ที่ดำเนินการโดยทีมสำนักทะเบียนและประมวลผลเข้าด้วยกัน  เพื่อการดำเนินการแบบครบวงจรในระบบเดียว โดยมีกำหนดการที่จะเปิดใช้งานภายในปี 2565 นี้  อาจารย์และเจ้าหน้าที่ผู้ใช้งานจะได้รับความสะดวกมากยิ่งขึ้นในการจัดการคอร์สเรียนในแต่ละเทอม

โครงการการพัฒนาเครื่องมือดิจิทัลอย่างง่าย :

  • EZ Studio ปัจจุบันชุด EZ Studio ได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัย นำไปสร้างเป็นห้องบันทึกสื่อและให้บริการกับอาจารย์แล้วสองแห่ง คือที่คณะพยาบาลจำนวน 4 ห้อง และที่อาคารนวัตกรรมการเรียนรู้ที่จะเปิดใช้ในปี 2565 อีก 2 ห้อง นอกจากนั้นมหาวิทยาลัยยังได้จัดหาชุด EZ Studio อีก 108 ชุดเพื่อมอบให้กับคณะต่างๆทั่วมหาวิทยาลัย เพื่อนำไปติดตั้งและให้บริการกับอาจารย์ในหน่วยงานหรือคณะของตน ซึ่งมีการส่งมอบอุปกรณ์แล้วเสร็จในช่วงเดือน มิถุนายน 2564 
    นอกจากนั้น TLIC ยังได้จดลิขสิทธิ์กล่องควบคุม EZ Controller ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่สร้างขึ้นเพื่อให้สามารถควบคุมการบันทึกและเลือกสื่อที่จะบันทึกได้ง่าย และมีเอกชนเข้ามาขอซื้อสิทธิ์เพื่อนำไปผลิตจำหน่ายเชิงพาณิชย์แล้ว ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างดำเนินการกับ หน่วยจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและถ่ายทอดเทคโนโลยีของมหาวิทยาลัย

  • EZ Conference ได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัย เพื่อใช้งานชุดการประชุมแบบสำเร็จ ที่สามารถเคลื่อนย้ายไปยังห้องประชุมต่างๆได้อย่างสะดวก โดยเน้นการใช้งาน Zoom Rooms เพื่อเป็น Digital wireless solution ซึ่งได้มีการส่งมอบชุด EZ Conference ให้กับคณะและหน่วยงานต้นแบบเพื่อใช้สำหรับการสอนและการประชุมทางไกล จำนวน 6 ชุดแล้ว (5 คณะ 1 หน่วยงาน) ส่งมอบแล้วเสร็จในช่วงเดือน กุมภาพันธ์ 2565

ระบบ Online Learning Support เพื่อสนับสนุนอาจารย์และบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในการใช้งานระบบและเครื่องมือดิจิทัล :

  • Help Center บนระบบ Jira Services Maangement: ระบบให้ความช่วยเหลือด้านการใช้งานระบบสำหรับการเรียนการสอนออนไลน์ โดยเจ้าหน้าที่ทีม Support ผ่านระบบที่สามารถรายงานสถานะการดำเนินการได้ในทุกขั้นตอน  และสามารถประเมินความพึงพอใจในการให้บริการของเจ้าหน้าที่ได้อีกด้วย

  • TLIC Consulting Services: ระบบให้คำปรึกษาแก่อาจารย์แบบส่วนตัว โดยได้นำร่องด้วยการให้บริการแบบกลุ่มสำหรับอาจารย์ตั้งแต่ 3 ท่านขึ้นไป และในปัจจุบันได้มีการให้บริการแบบรายบุคคลทั้งรูปแบบ Onsite ที่สำนักงาน TLIC และ แบบออนไลน์ผ่าน MS Teams เพื่อแชร์หน้าจออีกด้วย (โปรดนัดหมายล่วงหน้าก่อนเข้าใช้บริการ)

  • TLIC Support Plus: ระบบสนับสนุนการเรียนการสอนออนไลน์เพื่อการให้บริการอย่างตรงจุด รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ สามารถนำข้อมูลไปวิเคราะห์เพื่อวางแผนการให้บริการผู้ใช้บริการในเชิงรุก ซึ่งมีแผนจัดทำในอนาคต

  • Support Network: เครือข่ายผู้ให้การสนับสนุนอาจารย์ในด้านการเรียนการสอนออนไลน์เพื่อการให้บริการอย่างทั่วถึง รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยมีแผนจัดทำในอนาคต

02

พัฒนาอาจารย์ด้านการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21

  • การส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21 สนับสนุนทุนอาจารย์
    (CMU 21st Century Learning)

  • โครงการอบรมอาจารย์ด้านการพัฒนาการสอน

ผลงานในยุทธศาสตร์ที่ 1 ผลักดันการจัดการเรียนรู้ดิจิทัล (Digital Learning)

โครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบใหม่ที่สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21 :

         ศูนย์นวัตกรรมการสอนและการเรียนรู้ได้จัดโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบใหม่ที่สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21 เพื่อส่งเสริมให้อาจารย์มหาวิทยาลัยได้พัฒนาการสอน โดยโครงการดังกล่าวได้เริ่มมาตั้งแต่ปีการศึกษา 2557 ภายใต้สำนักพัฒนาคุณภาพการศึกษา และหลังจากปีการศึกษา 2562 เป็นต้นมา

         ทางศูนย์ฯ จึงได้เข้ามารับบทบาทดำเนินการโครงการอย่างเต็มตัว และได้เปิดรับสมัครทุนหลากหลายประเภท เช่น Type A Active Learning, Type B Flipped classroom, Type C Integrated learning, Type Mooc, และนอกจากนี้ก็ยังมีทุน  Micro- teaching เป็นทุนสำหรับอาจารย์ที่ไม่มีวิชาสอน หรืออยากได้ที่ปรึกษาด้านการสอนก็สามารถเข้าร่วมกิจกรรม Coaching ซึ่งทางศูนย์ฯ ได้ความร่วมมือกับคณะศึกษาศาสตร์ ในการเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการสอน ให้กับอาจารย์ที่สนใจอีกด้วย  

         ในปีการศึกษา 2565 นี้ทาง TLIC ได้มีการเปิดตัวทุนที่มากขึ้นถึงจำนวน 10 ทุน มีการเปิดตัวทุนใหม่  Type O (OBE) และยังมีทุนวิจัยนวัตกรรมเพื่อตอบ จุดประสงค์ของ SDGs 4 ด้านการพัฒนาการศึกษาที่เท่าเทียมทั่วถึง โดยจะมีการแบ่งหัวข้อการวิจัยและพัฒนาตามการประเมินระดับความพร้อมจากการนำผลงานไปใช้ประโยชน์ ในบริบทของมหาวิทยาลัย (CMU Readiness Level: CMU-RL) เป็นการประเมินระดับและผลกระทบของผลงานวิจัยหรือองค์ความรู้ใหม่ภายในมหาวิทยาลัยที่มีการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ทั้งในเชิงสังคมและเชิงพาณิชย์

Coaching ที่ปรึกษาอาจารย์ :

     โครงการให้คำแนะนำและคำปรึกษาในการออกแบบการเรียนรู้ โดยอาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญทั้งในส่วนของภาคทฤษฏีและการปฏิบัติจริง เพื่อให้สอดคล้องกับเงื่อนไขการสนับสนุนและส่งเสริมอาจารย์ ในแต่ละโครงการที่มีการเปิดรับสมัคร 

โครงการอบรมพัฒนาอาจารย์ :

        ปัจจุบันศูนย์ฯ ได้มีการจัดอบรมพัฒนาอาจารย์เพื่อให้คณาจารย์ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้สร้างความเข้าใจ สามารถเลือกวิธีการสอนที่เหมาะสม รวมถึงรับทราบรูปแบบและแนวทางต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ  โดยปัจจุบัน ศูนย์ฯ ได้วางแผนการอบรมตามแนวทางการพัฒนาสมรรถนะอาจารย์  แบ่งออกเป็น 3 หมวดดังนี้

1. การจัดการเรียนการสอนแบบActive Learning Facilitator 

    1.1 การอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการจัดการเรียนการสอนแบบActive Learning (Active classroom practitioner) โดยอาจารย์สามารถออกแบบและดำเนินการเรียนรู้แบบผู้เรียนมีส่วนร่วมที่เหมาะสมกับบริบทของวิชาหรือศาสตร์นั้นๆ

    1.2 การอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการจัดการเรียนการสอนและการประเมินผู้เรียน (Learning assessment designer) โดยอาจารย์สามารถประเมินผู้เรียนตามสภาพจริง และใช้ผลประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียน

    1.3 การอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการจัดการเรียนการสอนแบบ Flipped Classroom(Flipped classroom facilitator) โดยอาจารย์สามารถออกแบบการเรียนรู้ให้ผู้เรียนศึกษาเนื้อหานอกชั้นเรียน เพื่อนำสิ่งที่ศึกษามาใช้ระหว่างการเรียนรู้ในคาบเรียน

2. การใช้Digital Learningในการจัดการเรียนรู้(Digital Learning Practitioner)

    เน้นการส่งเสริมให้อาจารย์ใช้เครื่องมือเพื่อจัดการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์โดยในการอบรมประกอบด้วย

    2.1 การอบรมเชิงปฏิบัติการการใช้งานระบบLMS

    2.2 การอบรมเชิงปฏิบัติการการใช้ Digital Productivity Tools for Learning

    2.3การอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ Online Learning เป็นการในเน้นให้อาจารย์สามารถสร้างสื่อในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อนำมาประกอบการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วยการอบรมการสร้างสื่อการเรียนการสอนในรูปแบบวิดีโอด้วยCMU EZ-Studio

3. การออกแบบการเรียนรู้และการวัดผลที่เชื่อมโยงกับ Outcome-based Learning Educator

    การอบรมเชิงปฏิบัติการการใช้แพลตฟอร์ม Outcome-based Education ของมหาวิทยาลัย รวมทั้งระบบตัดเกรด และระบบบริหารจัดการคะแนน *หัวข้อการจัดอบรมอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม ขึ้นอยู่กับแนวทางและรูปแบบในช่วงเวลานั้น

03

การสร้างดิจิทัลเพลตฟอร์มเพื่อบริหารการจัดการเรียนรู้

  • การพัฒนาระบบตัดเกรดออนไลน์เพื่อช่วยสนับสนุนและอำนวยความสะดวก
    ในการจัดการคะแนนและส่งเกรด

  • การพัฒนาระบบ Outcome-Based Education (OBE) เพื่อการวัดผลในหลายมิติ

 

 

ผลงานในยุทธศาสตร์ที่ 1 ผลักดันการจัดการเรียนรู้ดิจิทัล (Digital Learning)

       เพื่อให้อาจารย์มีทัศนคติเชิงบวกกับระบบ OBE นี้ TLIC เริ่มต้นจากการพัฒนาระบบประมวลผลการเรียน ได้แก่

การพัฒนาระบบตัดเกรดออนไลน์ :

     เพื่อช่วยสนับสนุนและอำนวยความสะดวกในการจัดการคะแนนและส่งเกรด เพราะเป็นสิ่งที่อาจารย์ทุกคนคุ้นชินและต้องทำอยู่แล้ว โดยได้ร่วมมือกับบริษัทเอกชนที่มีอ่างแก้วโฮลดิงถือหุ้นส่วนพัฒนาระบบขึ้นมา โดยสามารถใช้งานได้ตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งความร่วมมือกับเอกชนที่เกิดขึ้นนั้นเป็นรูปแบบการร่วมทุน โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้บริษัททำการขอสิทธิ์เพื่อนำไปจำหน่ายยังสถานศึกษาอื่นในอนาคต

     โดยในปี 2565 นี้ จะมีการพัฒนาฟีเจอร์ใหม่ๆ ตามเสียงตอบรับของอาจารย์ผู้ใช้งาน ท่านสามารถเข้าใช้งานระบบ หรือ ศึกษาคู่มือเพิ่มเติมได้ที่หน้าหลัก CMU Grade

 

การพัฒนาระบบ Outcome-Based Education (OBE) :

     เพื่อการวัดผลในหลายมิติ ได้มีการนำร่อง และใช้งานกับคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  โดยได้มีการวางแผนและแนวทางในการพัฒนา ปรับปรุงเกณฑ์การวัดผลต่างๆอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถวัดและประเมินผลได้อย่างครอบคลุม มีประสิทธิภาพสูงสุดและสอดคล้องกับเกณฑ์ของทางคณะ และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่   ซึ่งในส่วนของการพัฒนาระบบนี้ได้รับเกียรติจากอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่าน ร่วมกับ ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมการสอนและการเรียนรู้ ในการพัฒนาระบบ  โดยคาดว่าในอนาคตมีแนวโน้มที่จะมีการเปิดให้ใช้งานกับคณะอื่นๆของมหาวิทยาลัยอีกด้วย

ระบบสนับสนุนอาจารย์ที่ปรึกษา : ระบบที่จะช่วยสนับสนุนและรักษาสัมพันธภาพอันดีระหว่างอาจารย์กับนักศึกษา เป็นระบบที่จะช่วยให้อาจารย์ได้รู้จักและเข้าใจนักศึกษาของตนอย่างหลากหลายมิติมากยิ่งขึ้น มีแผนจัดทำในอนาคต

04

สนับสนุนการวิจัยและสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้

  • Learning Innovation Research: ทุนส่งเสริมการวิจัยนวัตกรรมการเรียนรู้
     

  • Covid-19 Research (เฉพาะกิจ): วิจัยถอดบทเรียนการเรียนการสอนออนไลน์
    ในช่วงสถานการณ์ Covid-19

  • จัดตั้งศูนย์ STEM

โครงการส่งเสริมการวิจัยและนวัตกรรมการเรียนรู้ :

     ในปีการศึกษา 2565 นี้ TLIC มีโครงการส่งเสริมและสนับสนุนให้อาจารย์ทำการวิจัยและสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ อันเนื่องมาจากการที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้กำหนดตัวชี้วัดจาก The Global Goals for Sustainable Development (SDGs) ที่กล่าวถึงการพัฒนาการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม อีกทั้งยังสามารถส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต (SDG 4) โดยมีการตีพิมพ์ผลงานวิจัยในหัวข้อดังกล่าวเป็นตัวชี้วัดสำคัญ โดยมีทุนทั้งหมด 3 ระดับดังนี้
       1. ระดับที่ 1 งานวิจัยด้านการเรียนรู้ระดับปฏิบัติการ LEVE I - Laboratory Level (CMU-RL 1-3) งบประมาณสนับสนุน : 300,000 บาทต่อโครงการ เน้นพัฒนาแนวคิด ต้นแบบ และทดสอบเบื้องต้น​

       2. ระดับที่ 2 งานพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ใช้งานภาคสนาม LEVEL II - Fieldwork Level (CMU-RL 4-7) งบประมาณสนับสนุน : 500,000 บาทต่อโครงการ เน้นใช้งานจริงภายใน หรือ นอกมหาวิทยาลัย (ลงพื้นที่/ชุมชน) ระดับขยายผล​

       3. ระดับที่ 3 โครงการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชนอย่างยั่งยืน LEVEL III - Commercial/Standardized Level (CMU-RL 8-9)งบประมาณสนับสนุน : พิจารณางบประมาณตามข้อเสนอโครงการยอมรับเป็นมาตรฐานขยายผลอย่างกว้างขวาง ต่อยอดเชิงพาณิชย์

       รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถดูได้จากหน้า Learning Innovation Research

 

 

จัดตั้งศูนย์ STEM (Science, technology, engineering, and mathematics) :

       ศูนย์ที่สนับสนุนการศึกษาแบบบูรณาการความรู้ระหว่างศาสตร์วิชาต่างๆ เช่น ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ความรู้ทางด้านเทคโนโลยี ความรู้ทางด้านวิศวกรรม และ ความรู้ด้านคณิตศาสตร์ และ ส่งเสริมทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 

 

สนใจศึกษาดูงานที่ศูนย์นวัตกรรมการสอนและการเรียนรู้, มช

Anchor 1
Anchor 2
Anchor 3
Anchor 4
Work Desk

ร่วมงานกับเรา

อยากฝึกงานกับเรา

หรือ

อยากร่วมงานกับเราไหม?

bottom of page