ถอดบทสัมภาษณ์จากรายการ CMU ED TALKS 21st Century Learning การจัดการเรียนการสอนผ่านประสบการณ์จากอาจารย์ต้นแบบ มช. EP.1
“การเรียนรู้ไม่ใช่แค่การจดจำ แต่เป็นการลงมือทำและค้นพบด้วยตัวเอง”
ประโยคนี้เป็นหัวใจสำคัญของโครงการบูรณาการการสอนระหว่างวิชา “สะเต็มศึกษาเพื่อชีวิต เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม” และ “หลักการและวิธีสอนวิทยาศาสตร์” โดย ผศ.ดร.สุริยา จำรัส จากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้คว้ารางวัล Exemplary Award จากโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้รูปแบบใหม่ที่สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21 ปีการศึกษา 2563
จุดเริ่มต้นของการบูรณาการ
โครงการบูรณาการการสอนนี้ได้เกิดขึ้นในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 ท่ามกลางสถานการณ์การเรียนรู้แบบออนไลน์ ซึ่งอาจารย์สุริยาได้เล็งเห็นถึงโอกาสในการบูรณาการเนื้อหาและกิจกรรมจากทั้งสองวิชาเข้าด้วยกัน เพื่อสร้างประสบการณ์การเรียนรู้แบบองค์รวม และช่วยให้นักศึกษาได้เรียนรู้ทั้งทฤษฎีและลงมือปฏิบัติจริง ผ่านกิจกรรมที่สนุกสนาน ท้าทาย และสร้างแรงบันดาลใจ จากนั้น อาจารย์สุริยาจึงได้พัฒนาเอกสารประกอบการสอนขึ้นใหม่ จัดทำกิจกรรมที่นักศึกษาจากทั้งสองวิชาสามารถเรียนรู้ร่วมกัน และเปิดห้องเรียนออนไลน์บน Google Classroom เพื่อสื่อสารกับนักศึกษาและอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้
กิจกรรมที่สร้างประสบการณ์ล้ำค่า
หนึ่งในกิจกรรมประกอบการเรียนการสอนที่น่าสนใจคือ การจัดทำ STEM Box Set อุปกรณ์การเรียนรู้ที่นักศึกษาสามารถนำไปใช้ทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ด้วยตัวเอง เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้คิดและลงมือปฏิบัติจริงได้ด้วยตนเอง
นอกจากนี้ อาจารย์สุริยายังใช้วิธีการสอนแบบ Gamification โดยนำ Minecraft เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการเรียนรู้เพื่อสร้างแรงจูงใจในการเรียน และเป็นพื้นที่เสมือนให้นักศึกษาได้มีพื้นที่ในการเรียนรู้ร่วมกัน
นอกจากนี้ อาจารย์สุริยายังใช้วิธีการสอนแบบ Gamification โดยนำ Minecraft เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการเรียนรู้เพื่อสร้างแรงจูงใจในการเรียน และเป็นพื้นที่เสมือนให้นักศึกษาได้มีพื้นที่ในการเรียนรู้ร่วมกัน
ผลลัพธ์ที่น่าประทับใจ
จากการประเมินผลในทั้งสองรายวิชา พบว่านักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการเรียน เกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ มีทักษะการคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา การทำงานเป็นทีม และการสื่อสารที่ดีขึ้น ซึ่งถือเป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
การขยายผลสู่วงกว้าง
อาจารย์สุริยาได้นำผลลัพธ์ของโครงการนี้ไปขยายผลต่อโดยได้จัดทำคอร์ส MOOC และอัพโหลดคลิปวิดีโอการทำกิจกรรมต่าง ๆ ลงบน YouTube เพื่อแบ่งปันแนวทางให้อาจารย์ท่านอื่น ๆ ได้นำไปปรับใช้ได้
ที่มาคลิปวิดิโอต้นฉบับ: https://youtu.be/Q5wlLwg1l4M?si=sJj4bYDmbqGuwcvE
เรียบเรียงโดย มัลลิกา ชนะบัว
(TLIC JUNIOR#3 - Writer)
นักศึกษาโครงการ Digital Learning Support; DLA 2/2566
Comments