🔔ลงทะเบียนรับสิทธิ์ CMU Kahoot! EDU Pro (AI Enhanced) 2/67 ได้แล้ววันนี้ เลื่อนลงด้านล่างเพื่อลงทะเบียน

วิชา "อาหารฮาลาล" ซึ่งสอนโดยอาจารย์ศศิธร ใบผ่อง ได้มีการปรับรูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการลดกิจกรรมการบรรยายหน้าชั้นเรียนและส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันผ่านการใช้ Active Learning ผสมผสานกับ Asynchronous Learning ซึ่งช่วยให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียนตามความเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้แบบรายบุคคล แบบกลุ่มเล็ก หรือแบบกลุ่มใหญ่ ซึ่งสามารถนำไปสู่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีปฏิบัติที่ดีด้านการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เนื้อหาของรายวิชานี้มุ่งเน้นให้นักศึกษามีทักษะการศึกษาด้วยตนเอง และเน้นเนื้อหาที่จะทำให้นักศึกษาเข้าใจในเรื่องของการวิเคราะห์และประเมินผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อระบุสถานะฮาลาล โดยสามารถปรับกระบวนการผลิตอาหารทั่วไปให้เป็นอาหารฮาลาลได้อย่างเหมาะสม
การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ในรายวิชานี้ ช่วยให้นักศึกษาได้เกิดการมีส่วนร่วมในการเรียนรู้เชิงรุกผ่านกิจกรรมที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหา เช่น การแลกเปลี่ยนความคิด การเรียนรู้แบบร่วมมือ การใช้เกม การวิเคราะห์วิดีโอ กรณีศึกษา และการเขียนบันทึก ทั้งยังผสานเข้ากับการเรียนรู้แบบ Asynchronous Learning ที่ผู้เรียนสามารถเรียนได้ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน เหมาะกับการเรียนรู้ของผู้เรียนรายบุคคล การเรียนรู้แบบกลุ่มเล็ก และการเรียนรู้แบบกลุ่มใหญ่ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน โดยจะช่วยให้นักศึกษาสามารถเข้าถึงเนื้อหาได้ตามความสะดวก ช่วยให้นักศึกษาเข้าถึงเนื้อหา ใบงาน แบบฝึกหัด และแหล่งข้อมูลที่เสริมความเข้าใจในเนื้อหาฮาลาลได้ตลอดเวลา ทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจที่แท้จริงจนสามารถต่อยอดไปปรับใช้ในอนาคตได้
ดังนั้น การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning + Asynchronous Learning ในวิชา "อาหารฮาลาล" ช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการแสวงหาความรู้ ได้เรียนรู้อย่างมีปฏิสัมพันธ์จนเกิดเป็นความรู้ความเข้าใจ ทั้งยังทำให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้น ต่อยอดให้ผู้เรียนได้เกิดการคิด วิเคราะห์ และสามารถประยุกต์เนื้อหาในห้องเรียนไปสู่ชีวิตจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เครื่องมือที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในชั้นเรียนที่ใช้สำหรับการเรียนการสอนในวิชานี้
│Kahoot, Mango Canvas, Zoom และ Facebook Group
บทคัดย่อ
บทความนี้เป็นการเสนอแนวทางในการจัดการเรียนรู้และการสนับสนุนด้านนวัตกรรมการเรียนการสอนสำหรับอาจารย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในปีการศึกษาที่ 2565 ภายใต้โครงการสนับสนุนงบประมาณการจัดการเรียนการสอน แบบ Type B: Active Learning + Asynchronous Learning โดยกระบวนวิชา 601322 อาหารฮาลาล ได้ปรับรูปแบบการเรียนการสอนในรูปแบบ Active Learning ที่ส่งเสริมให้ลดกิจกรรมการบรรยายหน้าชั้นเรียน เน้นกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน ผนวกกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Asynchronous Learning ที่ผู้เรียนสามารถเรียนได้ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน เหมาะกับการเรียนรู้ของผู้เรียนรายบุคคล การเรียนรู้แบบกลุ่มเล็ก และการเรียนรู้แบบกลุ่มใหญ่ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีปฏิบัติที่ดีด้านการจัดการเรียนรู้แบบใหม่ในศตวรรษที่ 21 ในกระบวนวิชานี้มีแนวทางในการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แบบ Active Learning โดยกิจกรรมที่ผู้สอนวางแผนดำเนินการในกระบวนวิชา ได้แก่ การแลกเปลี่ยนความคิด การเรียนรู้แบบร่วมมือ การใช้เกม การวิเคราะห์วิดีโอ กรณีศึกษา และการเขียนบันทึก การจัดการเรียนรู้แบบ Asynchronous Learning โดยจัดผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ได้แก่ Mango Canvas และ Closed Facebook Group เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาบทเรียนตามกรอบเวลาที่ผู้สอนกำหนดไว้ โดยไม่จำเป็นต้องนัดหมายเวลาตามในตารางสอนที่กำหนดของระบบสำนักทะเบียน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อีกทั้งผู้สอนและผู้เรียนสามารถสื่อสารกันได้ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ทำให้ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของเวลาและสถานที่ ผู้เรียนสามารถเรียนที่ไหน เวลาใดก็ได้ โดยผู้สอนนำเนื้อหาบทเรียน ใบงาน แบบฝึกหัด แหล่งสืบค้นข้อมูลต่าง ๆ ตลอดจนการตั้งประเด็นปัญหาหรือคำถามให้ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์และใช้เครื่องมือผ่านระบบออนไลน์ทั้งหมด การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning + Asynchronous Learning ช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการแสวงหาความรู้ และเรียนรู้อย่างมีปฏิสัมพันธ์จนเกิดความรู้ความเข้าใจ เมื่อสิ้นสุดการเรียนรู้ทำให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้น การคิดและวิเคราะห์ การประยุกต์เนื้อหาในห้องเรียนไปสู่ชีวิตจริงได้อย่างดี การประเมินในรูปแบบผ่านกิจกรรมมากกว่าสอบ ทำให้ผู้เรียนไม่เครียดในการอ่านหนังสือสอบ แต่ได้รับการประเมินจากการมีส่วนร่วมในกิจกรรมซึ่งเป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมเพิ่มมากขึ้น
รายละเอียดเกี่ยวกับรายงานวิจัยฉบับนี้เพิ่มเติมสามารถอ่านต่อได้ที่
หน้า 224 ผลการจัดการเรียนรู้ 21st Century Learning ประจำปีการศึกษา 2565
เรื่อง 601322: อาหารฮาลาล ใครไม่รู้จักอาหารฮาลาล ยกมือขึ้น
โดย อาจารย์ศศิธร ใบผ่อง
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เรียบเรียงเนื้อหาและจัดทำภาพประกอบโดย TLIC Junior รุ่นที่ 5
(นักศึกษาช่วยงานโครงการ Digital Learning Assistant 1/2567)
📍 ลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิ์ CMU Kahoot! EDU Pro (AI Enhanced) 🔔
TLIC จะเปิดให้บริการ CMU Kahoot EDU Pro ในปีการศึกษา 2/2567 สำหรับอาจารย์ มช.
ลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิ์ในการใช้งาน Gamification Education Tools "Kahoot!" ได้เลย
รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ
CMU Kahoot! คลิกเลย

Comments