🔔ลงทะเบียนรับสิทธิ์ CMU Kahoot! EDU Pro (AI Enhanced) 2/67 ได้แล้ววันนี้ เลื่อนลงด้านล่างเพื่อลงทะเบียน
การเรียนรู้เชิงปฏิบัติในวิชาชีวกลศาสตร์ประยุกต์: เสริมสร้างความรู้ผ่านกิจกรรมเพื่อมุ่งสู่การเป็นนักกิจกรรมบำบัดที่ดี
ในยุคที่การเรียนรู้แบบปฏิบัติกลายเป็นสิ่งสำคัญ วิชา "ชีวกลศาสตร์ประยุกต์ในกิจกรรมบำบัด" ที่สอนโดยอาจารย์พัชญ์พิไล ไชยวงศ์ และอาจารย์ครองพร ชินชัย ได้เพิ่มมิติใหม่ให้กับการเรียนรู้ด้วยการผสานเทคนิค Active Learning ที่เน้นการมีส่วนร่วมของนักศึกษา มีเป้าหมายในการสร้างความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในชีวกลศาสตร์ผ่านการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อพัฒนานักศึกษาให้เป็นนักกิจกรรมบำบัดที่มีคุณภาพ
จุดเด่นของวิชานี้คือการลดการบรรยายและเพิ่มการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมที่ออกแบบมาเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์ ทักษะการทำงานร่วมกัน ทักษะการสื่อสาร และทักษะด้านดิจิทัล ซึ่งไม่เพียงช่วยให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพ แต่ยังเตรียมนักศึกษาให้พร้อมสำหรับความท้าทายในศตวรรษที่ 21
การนำ Active Learning มาใช้ในวิชานี้เป็นการผสานการเรียนการสอนที่ให้นักศึกษาเป็นศูนย์กลาง โดยให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลด้วยตนเองและเตรียมความพร้อมก่อนเข้าชั้นเรียน เพื่อเพิ่มความเข้าใจในเนื้อหาวิชา นอกจากนี้ การเรียนรู้แบบปฏิบัติการยังช่วยให้นักศึกษาประยุกต์ความรู้ด้านชีวกลศาสตร์กับชีวิตจริง ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับนักกิจกรรมบำบัดที่มีประสิทธิภาพ
วิชานี้ช่วยให้นักศึกษาเข้าใจทฤษฎีชีวกลศาสตร์และเสริมสร้างความมั่นใจในการนำความรู้ไปใช้ในทางปฏิบัติ ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาตนเองและการประกอบอาชีพในอนาคต
เครื่องมือส่งเสริมการมีส่วนร่วมในชั้นเรียนที่ใช้สำหรับการเรียนการสอนในวิชานี้
Quizizz, Mentimeter, ✨Kahoot✨
บทคัดย่อ
การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ในกระบวนวิชา ชีวกลศาสตร์ประยุกต์ทางกายภาพบำบัดโดยการกระตุ้นให้ผู้เรียนศึกษาความรู้ด้วยตนเองที่ผสมผสานแนวคิด Critical Thinking, Creative Thinking, Collaboration Skill, Communication Skill และ Digital Skill เป็นกิจกรรมลดการบรรยายหน้าเรียน และส่งเสริมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โดยให้ผู้เรียนทำความเข้าใจเนื้อหาก่อนเข้าเรียน ช่วงกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนมีการกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจโดยใช้เกมโชว์ การมอบหมายภาระงานให้รับผิดชอบ การทำกิจกรรมกลุ่มวิเคราะห์แบบ Case-based learning และ Problem-based learning ร่วมกับการใช้ ICT ในการสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมในประเด็นที่ผู้เรียนสงสัย รวมถึงสร้างสื่อและนำเสนออย่างสร้างสรรค์ที่แสดงให้เห็นถึงความเข้าใจเชิงลึกของตนเอง โดยผู้สอนมีบทบาทเป็นพี่เลี้ยงชี้แนะ แก้ไขความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนให้ถูกต้องในมิติต่าง ๆ เพิ่มเติม เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง ครอบคลุมเพียงพอสำหรับการเป็นนักวิชาชีพที่ดีในอนาคต สุดท้ายให้ผู้เรียนตกผลึกความรู้ในห้องเรียนโดยการสะท้อนคิด (reflection) เกี่ยวกับประเด็นที่สนใจศึกษาเพิ่มเติม รวมถึงรายงานแนวทางการทำความเข้าใจประเด็นที่สงสัยดังกล่าว เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้แบบ Self-directed learning นอกจากนี้ในการวัดและประเมินผล ผู้สอนได้ทำการประเมินผู้เรียนตามสภาพจริง (Authentic assessment) จาก 1.ความสนใจในการศึกษาเนื้อหาก่อนเข้าเรียน 2.พฤติกรรมการทำงานกลุ่ม 3.ทักษะการคิดวิเคราะห์ 4.ทักษะการนำเสนอ 5.การสะท้อนคิด ผลจากการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ในครั้งนี้ พบผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้เรียนตรงตามวัตถุประสงค์ของกระบวนวิชา ผู้เรียนมีความเข้าใจหลักการ ตลอดจนสามารถวิเคราะห์และประยุกต์ใช้หลักการได้ และมีคุณลักษณะของการเป็นนักวิชาชีพกายภาพบำบัดยุคใหม่มากขึ้น
รายละเอียดเกี่ยวกับรายงานวิจัยฉบับนี้เพิ่มเติมสามารถอ่านต่อได้ที่
หน้าที่ 14 ผลการจัดการเรียนรู้ 21st century Learning ประจำปีการศึกษา 2565
เรื่อง 513228: ชีวกลศาสตร์ประยุุกต์ทางกิจกรรมบำบัดเข้าใจชีวกลศาสตร์ผ่านกิจกรรม ในชีวิตประจำวันมุ่งสู่ฝันการเป็นนักกิจกรรมบำบัดที่ดี
โดย อาจารย์พัชญ์พิไล ไชยวงศ์ และ อาจารย์ครองพร ชินชัย
ภาควิชากิจกรรมบำบัด คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เรียบเรียงเนื้อหาและจัดทำภาพประกอบโดย TLIC Junior รุ่นที่ 5
(นักศึกษาช่วยงานโครงการ Digital Learning Assistant 1/2567)
📍 ลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิ์ CMU Kahoot! EDU Pro (AI Enhanced) 🔔
TLIC จะเปิดให้บริการ CMU Kahoot EDU Pro ในปีการศึกษา 2/2567 สำหรับอาจารย์ มช.
ลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิ์ในการใช้งาน Gamification Education Tools "Kahoot!" ได้เลย
รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ
Comments