top of page

[ED Tools] การจัดการนวัตกรรม (Innovation Management) ไอเดียสร้างสรรค์ สู่แนวคิดการต่อยอดนวัตกรรม

  🔔ลงทะเบียนรับสิทธิ์ CMU Kahoot! EDU Pro (AI Enhanced) 2/67 ได้แล้ววันนี้ เลื่อนลงด้านล่างเพื่อลงทะเบียน


วิชา "การจัดการนวัตกรรม (Innovation Management)" ซึ่งสอนโดยอาจารย์วันทนา อารีประยูรกิจ เป็นวิชาใหม่ในสาขาวิชาการจัดการความรู้และนวัตกรรมในแขนงเอกการจัดการนวัตกรรมของนักศึกษาระดับปริญญาโท วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี ซึ่งได้นำเอา Active Learning มาปรับใช้ในรูปแบบการเรียนการสอน เพื่อลดการเรียนการสอนแบบบรรยายเนื้อหาลง และให้นักศึกษาได้มีเวลาในการรับโจทย์เพื่อฝึกฝนการแก้ปัญหาและการคิดเชิงวิเคราะห์ร่วมกับเพื่อนร่วมชั้นมากยิ่งขึ้น


เนื้อหาของรายวิชานี้มุ่งเน้นการปูพื้นฐานความรู้เชิงทฤษฎีบท แนวคิด กระบวนการ และการประเมินความเป็นนวัตกรรม เน้นการสร้างความรู้และความเข้าใจให้แก่ผู้เรียนในการจัดการนวัตกรรมอย่างเหมาะสมตามสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งในระดับองค์กร จนกระทั่งถึงระดับนวัตกรรมเชิงธุรกิจ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถประยุกต์กระบวนการตามทฤษฎี ประกอบกับมีแนวคิดในการจัดการและบ่มเพาะความสามารถในการสร้างนวัตกรรมต้นแบบอย่างเป็นระบบ


การใช้ Active Learning ในรายวิชานี้ช่วยให้นักศึกษาได้เกิดการมีส่วนร่วมกับกิจกรรมฝึกฝนทางความคิดเชิงวิเคราะห์ในรูปแบบผสมผสานระหว่าง Inquiry-based, Problem-based และ Project-based ซึ่งถือว่าเป็นการเพิ่มโอกาสในการแสดงความคิดเห็นเชิง และสนับสนุนให้นักศึกษากล้าคิด กล้าแสดงออก และเพิ่มทักษะการทำงานเป็นกลุ่มในชั้นเรียนอีกด้วย โดยการประยุกต์ใช้ Active Learning ในรูปแบบการสอน ถือเป็นการเพิ่มความเข้าใจในนักศึกษาเข้าใจในเนื้อหาอย่างเจาะลึก ทำให้สามารถนำเอาความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ทฤษฎีเพื่อนำไปสู่การพัฒนานวัตกรรมในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ดังนั้น การประยุกต์ใช้ Active Learning ในรายวิชา "การจัดการนวัตกรรม (Innovation Management)" สามารถช่วยให้การเรียนการสอนบรรลุผลสัมฤทธิ์เชิงประจักษ์ตามความคาดหวังได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพราะนอกจากนักศึกษาจะได้เข้าใจทฤษฎีที่เกี่ยวข้องในหลักการจัดการนวัตกรรมและกรณีศึกษาจากภาคธุรกิจแล้ว นักศึกษายังมีส่วนร่วมในการฝึกฝนทักษะความคิดเชิงวิเคราะห์ ซึ่งช่วยให้สามารถนำความรู้และแนวทางกระบวนการจัดการนวัตกรรมไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเต็มที่และพร้อมสำหรับการต่อยอดในอนาคต



เครื่องมือที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในชั้นเรียนที่ใช้สำหรับการเรียนการสอนในวิชานี้


Miro, Kahoot, Visme, Prezi และ Microsoft Teams


 

บทคัดย่อ


วิชา 952705 การจัดการนวัตกรรม (Innovation Management) เป็นวิชาใหม่ในสาขาวิชาการจัดการความรู้และนวัตกรรมในแขนงเอกการจัดการนวัตกรรมของนักศึกษาระดับปริญญาโท วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี จุดประสงค์หลักของวิชานี้คือ การสร้างความรู้และความเข้าใจให้แก่ผู้เรียนในการจัดการนวัตกรรมอย่างเหมาะสมตามสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งในระดับองค์กร จนกระทั่งถึงระดับนวัตกรรมเชิงธุรกิจ โดยพื้นฐาน แผนเนื้อหาในรายวิชานี้ถูกออกแบบไว้สำหรับการบรรยายเป็นหลัก โดยนักศึกษาจำเป็นต้องทราบถึงทฤษฎีที่เกี่ยวข้องในหลักการของการจัดการนวัตกรรมและกรณีศึกษาตัวอย่างต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในภาคธุรกิจ อย่างไรก็ตาม นั่นก็ยังไม่เพียงพอต่อการบรรลุผลสัมฤทธิ์เชิงประจักษ์ของวิชานี้ที่คาดหวังให้ผู้เรียนนั้นสามารถประยุกต์กระบวนการตามทฤษฎี ประกอบกับมีแนวคิดในการจัดการและบ่มเพาะความสามารถในการสร้างนวัตกรรมต้นแบบอย่างเป็นระบบ อาจารย์ผู้สอนจึงเสนอแนวทางในการปรับประยุกต์เนื้อหาสำหรับการสอนควบคู่กับการออกแบบกิจกรรมฝึกฝนทางความคิดเชิงวิเคราะห์ในรูปแบบผสมผสานระหว่าง Inquiry-based, Problem-based และ Project-based รวมถึงการใช้เครื่องมือสนับสนุนทางการเรียนรู้แบบต่าง ๆ เพื่อนำไปสู่ผลสัมฤทธิ์ที่นักศึกษาสามารถนำเสนอแนวทางกระบวนการจัดการนวัตกรรมที่มีความเหมาะสมต่อสถานการณ์ที่เป็นโจทย์ปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมที่น่าสนใจ ทันสมัย และทันต่อเหตุการณ์ที่เป็นไปตามกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ และการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างสมบูรณ์แบบในศตวรรษที่ 21


 

รายละเอียดเกี่ยวกับรายงานวิจัยฉบับนี้เพิ่มเติมสามารถอ่านต่อได้ที่

หน้า 106 ผลการจัดการเรียนรู้ 21st Century Learning ประจำปีการศึกษา 2565

เรื่อง 952705: การจัดการนวัตกรรม (Innovation Management) ไอเดียสร้างสรรค์ สู่แนวคิดการต่อยอดนวัตกรรม


โดย อาจารย์วันทนา อารีประยูรกิจ

วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

เรียบเรียงเนื้อหาและจัดทำภาพประกอบโดย TLIC Junior รุ่นที่ 5

(นักศึกษาช่วยงานโครงการ Digital Learning Assistant 1/2567)


 

📍 ลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิ์ CMU Kahoot! EDU Pro (AI Enhanced) 🔔


TLIC จะเปิดให้บริการ CMU Kahoot EDU Pro ในปีการศึกษา 2/2567 สำหรับอาจารย์ มช.

ลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิ์ในการใช้งาน Gamification Education Tools "Kahoot!" ได้เลย



 

รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ

CMU Kahoot! คลิกเลย



ดู 9 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments

Rated 0 out of 5 stars.
No ratings yet

Add a rating
bottom of page