top of page

[CMU21st Talk Century Learning Day 2020] โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อลิชา ตรีโรจนานนท์ - รางวัล Exemplary Award

กลับมาพบกันอีกครั้งกับถอดบทเรียนจากรายการ CMU21st Talk Century Learning Day 2020 ซึ่งครั้งนี้พบกับอาจารย์เจ้าของรางวัล Exemplary Award อีกหนึ่งท่าน โดยได้รับรางวัลจากการสอนในกระบวนวิชา 851451 การวางแผนและการบริหารงานประชาสัมพันธ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อลิชา ตรีโรจนานนท์ หรือ อาจารย์ส้มโอ จากคณะการสื่อสารมวลชน พร้อมกับการบรรยายเคล็ดลับการจัดการเรียนการสอนอย่างไรถึงจะที่สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21



ตลอดทั้งเทอมสิ่งที่ให้คุณค่าสุงสุด คือ การเชื่อมโยงความหลากหลายในชั้นเรียนเข้าด้วยกัน โดยมีความตั้งใจสูงสุด คือ การที่ห้องเรียนเป็นพื้นที่ ๆ ประสบการณ์ทั้งหลายได้ออกมาหลอมหลวมและสร้างคุณค่าร่วมกัน ดังนั้นในแต่ละชั้นเรียน นักศึกษาแต่ละคนต่างมีฟังก์ชั่นของตัวเขาเอง

ทั้งเทอมของการเรียนจะว่าด้วยคำทั้ง 4 คำ คือ ข้อมูล มุมมอง สมอง จิตใจ และเราทำการเรียนรู้ผ่าน 3 เรื่องหลัก นั้นคือ Knowledge (ความรู้) ซึ่งความรู้นักศึกษามีมากเพียงพอแล้ว เนื่องจากเขาเรียนมาตั้งแต่ปี 1 ดังนั้นสิ่งที่อาจารย์พยายามจะบ่มเพาะ คือ Attitude (วิธีคิดและมุมมอง) ที่ไม่สามารถสอนได้ แต่บ่มเพาะได้จากสภาพแวดล้อม รวมถึง Skills (ทักษะวิชาชีพ) จะเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ไปเชื่อมโยงกับวงการวิชาชีพ และได้รับโจทย์จริง ๆ ที่ต้องอาศัยมุมมองทางวิชาชีพ



ในกระบวนวิชานี้ อาจารย์ได้ใช้ Flipped classroom และ active learning โดยช่วงเริ่มต้นคาบนักศึกษาจะได้รับแพ็กเกจเนื้อหา หลังจากนั้นจึงเลือกเนื้อหาที่สนใจและได้รับบทบาทให้เป็นเจ้าภาพในการจัดการเรียนรู้ในเรื่องนั้น ๆ ซึ่งนักศึกษาจะต้องไปเรียนรู้ในหัวข้อที่ตนเองเลือกและจัดการสอนในรูปแบบที่ต้องการ รวมถึงต้องกลั่นในสิ่งที่เขารู้ออกมาเพื่อนำมาเล่าให้เพื่อน ๆ ฟัง ซึ่งอาจารย์ผู้สอนจะเป็นฝ่ายเสริมเนื้อหาบางส่วนที่เจ้าภาพยังตกหล่น

โดยในตอนท้าย เจ้าภาพการจัดการเรียนรู้จะได้รับการประเมินจากเพื่อน ๆ ด้วยคะแนนเฉลี่ยของเพื่อนต่อหัวข้อนั้น ๆ ซึ่งหมายความว่า เรานำพาให้ทุกคนอยู่ฝั่งเดียวกัน เราไม่ได้แข่งกัน แต่เราช่วยกันทำให้การเรียนรู้มันเกิดขึ้นได้

สุภาษิตหนึ่งจากแอฟริกันที่ว่า ‘It takes a village to raise a child’ (ต้องใช้คนทั้งหมู่บ้านในการเลี้ยงเด็กคนหนึ่งให้เติบโตขึ้นมา) เช่นเดียวกับในวิชานี้ สอนวิชาเดียวแต่ใช้อาจารย์หลาย ๆ ท่านมาช่วยเสริมให้การเรียนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น ผศ.ดร. มานพ แก้วโมราเจริญ จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มาช่วยสอนการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการวางแผนและบริหารโครงการ รศ.ดร. รวี ลงกานี จากภาควิชาการเงิน คณะบริหารธุรกิจ มาสอนในหัวข้อ Investor Relation ซึ่งแม้เนื้อหาจะมีความคลึงกับของคณะการสื่อสารมวลชน แต่เมื่อผู้สอนมาจากคณะอื่นนักศึกษาจึงจะได้รับหนึ่งมุมมองที่ต่างไปจากเดิม แฃะอาจารย์อีกหลาย ๆ ท่านที่คอยสนับสนุนให้การเรียนในวิชานี้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ไม่เพียงแค่อาจารย์ในมหาวิทยาลัย แต่ยังรวมไปถึงองค์กรต่าง ๆ ที่คยช่วยเหลือทำให้นักศึกษาได้ลองเชื่อมโยงกับวิชาชีพของเขา และนำความรู้เข้าไปช่วยเหลือสังคม

           

 

แกนหลักทั้ง 2



ในวิชานี้มีแกนหลัก ๆ นั้น คือ การวางแผนและการบริหาร โดยในการวางแผนนักศึกษาจะต้องแสดงพลังความสามารถในการวางแผน สามารถตกผลึกวิธีคิดได้ โดยคนตัดสินไม่ใช่แค่เรา แต่จะเป็นสมาคมวิชาชีพ เป็นสาธารณชนอื่น ๆ อาจารย์จึงกำหนดว่านักศึกษาจะต้องส่งแผนการสื่อสารเข้าประกวดในระดับชาติ ซึ่งหมายความว่า อาจารย์ไม่ใช่ผู้ตัดสิน แต่อาจารย์ย้ายไปอยู่ฝั่งเดียวกับผู้เรียน และสนับสนุนให้ผู้เรียนไปในตำแหน่งที่ดีที่สุดที่เขาสามารถไปได้ ผลสำเร็จคือนักศึกษาสามารถชนะการแข่งขันได้จริง ๆ ซึ่งการแข่งประกวดทั้งหลายนักศึกษาสามารถเลือกได้ว่าจะแข่งขันในเวทีใด และเป็นโชคดีอย่างหนึ่งที่ในทางการสื่อสารมีหลายเวทีให้นักศึกษาได้ไปแสดงศักยภาพ

แนวส่วนของการจัดการ นักศึกษาจะต้องจับกับเหตุการณ์พิเศษในการประชาสัมพันธ์ และต้องทำงานผู้สื่อข่าวสัมพันธ์ เพื่อให้เห็นว่าในวิชาชีพจริง ๆ นั้นเขาจะต้องทำอะไรบ้าง ซึ่งหลาย ๆ กิจกรรมก็เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เข้าไปทำข่าวและเผยแพร่ข่าว ดังนั้นเขาจะเห็นถึงมาตรฐานการทำงานที่เผยแพร่ได้ ซึ่งตรงนี้จะเป็นการเชื่อมวิชาการและวิชาชีพ

อาจารย์จะปฏิบัติต่อเขาเพื่อสร้างนักศึกษาให้เป็นนักวิชาชีพที่แท้จริง และตอนนี้เขาสามารถทำงานระดับอาชีพ โดยที่เขายังมีสถานะเป็นนักศึกษา สิ่งที่เป็นการเรียนรู้ คือ การหลอมรวมประสบการณ์ สร้างตัวตน และสร้างความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ในอนาคต


ไม่เพียงเท่านั้นในวิชานี้นักศึกษาจะได้จัดกิจกรรมขึ้นมาจริง ๆ ทำให้เขาสามารถเชื่อมโยงตัวเองเข้ากับกลุ่มคนที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น ในเวลาเดียวกันกิจกรรมเขาจะถูกเผยแพร่ลงสื่อสังคมออนไลน์ ผู้ปกครองของนักศึกษาก็จะชื่นใจไปด้วย และที่สำคัญ คือ การนักศึกษาได้เห็นตัวเองและตระหนักรู้ว่าเขา คือ ส่วนหนึ่งของวิชาชีพ และเป็นส่วนหนึ่งของสังคม    





 

ที่มาคลิปวิดิโอต้นฉบับ: https://www.youtube.com/watch?v=eLSni8ortE8&list=PLNnkly3VHgYb7Ket6dCghX-F44U-mDD5C&index=10

เรียบเรียงโดย ซูไรญา บินเยาะ

(TLIC JUNIOR#3 - Writer)

นักศึกษาโครงการ Digital Learning Support; DLA 2/2566

ดู 9 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comentarios

Obtuvo 0 de 5 estrellas.
Aún no hay calificaciones

Agrega una calificación
bottom of page