top of page

Matthew

CMU Generative AI Learning Platform

ผู้ใช้ที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนด สามารถเข้าสู่ระบบ Matthewได้
โดยใช้บัญชีของมหาวิทยาลัย (CMU Account)

Matthew (4).png
Matthew.png

"Matthew" คืออะไร?

คลิปนี้จะมาอธิบายให้ทุกท่านได้รู้จักมากขึ้น

  • แนะนำ Matthew

  • ที่มาและความสำคัญ กว่าจะมาเป็น Matthew

  • การเข้าใช้งาน Matthew

  • แนวโน้มและแผนพัฒนาในอนาคต

Matthew AI

Matthew เป็นแพลตฟอร์ม Generative AI ที่พัฒนาขึ้นเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยออกแบบมาเพื่อช่วยให้อาจารย์และนักศึกษาสามารถเข้าถึง

เครื่องมือ Generative AI ที่มีคุณภาพได้อย่างเท่าเทียม, สะดวก และปลอดภัย

โดยข้อมูลที่นำเข้าระบบ Matthew จะอยู่ในความดูแลของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ผู้ให้บริการ(OpenAI) ไม่นำข้อมูลไปใช้ฝึก AI โมเดล

 

นอกจากนั้นยังมีความสามารถที่อำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้ เช่น เครื่องมือวิเคราะห์การใช้งานของนักศึกษา การเชื่อมโยงกับระบบทะเบียนเพื่อแชร์ AI Bot กับนักศึกษาในวิชาที่สอนได้สะดวก เป็นต้น

Matthew & ChatGPT

Matthew (8).png

Matthew ใช้ GPT-4o เป็นพื้นฐาน

ดังนั้นจึงมีประสบการณ์ใช้งานคล้ายกับ ChatGPT และ LLM ยี่ห้อต่าง ๆ ที่มีในปัจจุบัน คือ

สามารถถามคำถาม สร้างรูปภาพ หรือเนื้อหาตามที่ต้องการ

Matthew ถูกออกแบบมาเพื่อให้บุคคลากรของมหาวิทยาลัยเข้าใช้งานได้สะดวก

ไม่ต้องสมัครบัญชี ไม่มีการเสียค่าสมาชิก

คุณสมบัติผู้ใช้งาน

เข้าใช้ผ่านทาง AI Bot ที่สร้าง

โดยอาจารย์ ส่วนการใช้งานเต็มรูปแบบ

มีแผนเปิดใช้งานในภาคการศึกษาที่ 1/2568 (พฤษภาคม 2568)

บุคลากรทุกท่านที่มี

CMU Account

สามารถทดลองใช้งาน

Matthew ได้

อาจารย์ทุกท่านที่มี

CMU Account

สามารถเข้าใช้งาน

Matthew ได้

อาจารย์                          บุคลากร                           นักศึกษา

หมายเหตุ: ผู้ใช้ที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนด สามารถเข้าสู่ระบบ Matthew ได้ โดยใช้บัญชีของมหาวิทยาลัย (CMU Account)

 

Timeline ของการพัฒนา MATTHEW

ริเริ่มแนวคิด
และเริ่มพัฒนา

อย่างต่อเนื่อง

2566

Untitled design_edited.png

เปิดตัว Matthew
Gen AI Learning Platform
ในระดับมหาวิทยาลัย

มกราคม 2568

มีแผนเปิดใช้งาน
เต็มรูปแบบกับนักศึกษา

พฤษภาคม 2568

กันยายน 2567

14 กุมภาพันธ์ 2568

นำร่องกับอาจารย์ใน 100 กระบวนวิชา มีนักศึกษาเข้าใช้ผ่าน Bot
ที่อาจารย์สร้าง 4,000 คน

อาจารย์ทั้งหมด 2,400 คน
สามารถเข้าใช้งานได้ ส่วนนักศึกษา
ใช้งานได้ผ่าน Bot ที่อาจารย์สร้าง

คู่มือและบทเรียนแนะนำ

คู่มือเริ่มต้นการใช้งาน

เริ่มต้นการใช้งาน Matthew

อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมแนะนำ

วิธีการเขียน Prompt

เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด 

การนำไปใช้และกรณีศึกษา

ตัวอย่างการนำไปใช้งานจริงในการเรียนการสอน พร้อมรายละเอียดการสร้าง Intelligent Tutor (Customized Bot)

และผลลัพธ์ที่ได้

วิดิโอเกี่ยวกับ Matthew

วิดิโองานสัมนาออนไลน์ย้อนหลังและ

วิดิโอที่เกี่ยวข้องกับการใช้งาน Matthew CMU GenAI

ติดตามคลิปวิดิโอใหม่ๆได้ที่นี่

วิดิโอเกี่ยวกับ Matthew CMU GenAI

All Videos
CMU GenAI EP.5 | Q&A ตอบทุกข้อสงสัย เกี่ยวกับ "Matthew" CMU GenAI
26:00
เล่นวิดีโอ

CMU GenAI EP.5 | Q&A ตอบทุกข้อสงสัย เกี่ยวกับ "Matthew" CMU GenAI

TLIC CMU Channel
CMU GenAI EP.4 | อ.รัศมีทิพย์ เล่าให้ฟัง Matthew ทำงานยังไง และ การสร้าง Chatbot ส่วนบุคคล
18:29
เล่นวิดีโอ

CMU GenAI EP.4 | อ.รัศมีทิพย์ เล่าให้ฟัง Matthew ทำงานยังไง และ การสร้าง Chatbot ส่วนบุคคล

TLIC CMU Channel
CMU GenAI EP.3 | อ.กมลภพ Preview Matthew CMU GenAI ทำอะไรได้บ้าง?
13:41
เล่นวิดีโอ

CMU GenAI EP.3 | อ.กมลภพ Preview Matthew CMU GenAI ทำอะไรได้บ้าง?

TLIC CMU Channel
CMU GenAI EP.2 | อ.สิริวุฒิ แชร์เทคนิคการเขียน Prompt ให้มีประสิทธิภาพ
42:12
เล่นวิดีโอ

CMU GenAI EP.2 | อ.สิริวุฒิ แชร์เทคนิคการเขียน Prompt ให้มีประสิทธิภาพ

TLIC CMU Channel
CMU GenAI EP.1 | อ.โรเจอร์ พามาทำความรู้จัก Matthew CMU GenAI
20:22
เล่นวิดีโอ

CMU GenAI EP.1 | อ.โรเจอร์ พามาทำความรู้จัก Matthew CMU GenAI

TLIC CMU Channel
แนะนำ Matthew CMU GenAI – ใช้งานสำหรับอาจารย์ | Webinar ย้อนหลัง ฉบับเต็ม (14 ก.พ. 68)
02:08:41
เล่นวิดีโอ

แนะนำ Matthew CMU GenAI – ใช้งานสำหรับอาจารย์ | Webinar ย้อนหลัง ฉบับเต็ม (14 ก.พ. 68)

TLIC CMU Channel
บทความต่อ

​​​ความแตกต่างระหว่าง Matthew กับ ChatGPT

Matthew.png

     แม้ว่า Matthew จะมีความสามารถหลากหลาย และใช้ ChatGPT เป็นกลไกหลักแต่การใช้งานก็จะมีความแตกต่างกันบ้าง โดยเฉพาะส่วนที่ต้องเชื่อมโยงกับเครื่องมือหรือแหล่งข้อมูลภายนอก ได้แก่
 

  • ยังไม่สามารถสั่งให้บันทึกข้อมูลออกมาเป็นไฟล์ เช่น Excel หรือ PowerPoint

  • เวลาของระบบจะเดินทุก ๆ 30 นาที ดังนั้นหากอ้างอิงเวลาปัจจุบันอาจคลาดเคลื่อน 

  • การค้นหาข้อมูลจาก Web search ใช้วิธีแตกต่างจาก ChatGPT ดังนั้นผลลัพธ์ที่ได้อาจแตกต่างกันบ้าง

  • การสร้างรูปภาพแม้จะใช้ DALL-E เหมือนกับ ChatGPT แต่อาจใช้เวลานานกว่าบ้าง

  • ChatGPT เป็นแบบเหมาจ่าย (กรณีที่สมัครสมาชิก) ส่วน Matthew เป็นการให้

  • โควต้าการใช้งานที่ไม่เก็บค่าใช้จ่าย

ทั้งนี้ในปัจจุบัน Matthew ใช้บริการ GenAI ของ OpenAI โดยโมเดลที่ใช้คือ GPT-4o ซึ่งในอนาคตอาจมีการเปิดให้เลือกใช้โมเดลอื่นเพิ่มเติม

Matthew (8).png

ความเป็นส่วนตัว
และความปลอดภัยของข้อมูล

นโยบายการจัดการข้อมูล

Matthew ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของข้อมูลผู้ใช้ โดยมีนโยบายการจัดการข้อมูลที่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ยกตัวอย่างเช่น

  • มีการขอความยินยอมก่อนเก็บข้อมูล - ข้อมูลใด ๆ ที่ประสงค์เก็บจะมีการแจ้งและขอความยินยอมจากผู้ใช้ก่อนเสมอ

  • สิทธิ์ของเจ้าของข้อมูล - เจ้าของมีสิทธิ์ในข้อมูล เช่นขอเพิกถอนตลอดจนลบข้อมูลที่เคยยินยอมไว้

  • การคุ้มครองข้อมูล - ข้อมูลที่เก็บผ่านระบบ Matthew มีการจัดเก็บเพื่อป้องกันเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต การใช้งานโดยมิชอบ และการรั่วไหลของข้อมูล

นโยบายการใช้งานที่เหมาะสม

การใช้งาน Matthew ที่เหมาะสมและปลอดภัย ให้ปฏิบัติตามประกาศมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นโยบายการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์แบบเจเนอเรทิฟ
ลงวันที่ 3 พฤศจิกายน 2566

[ดูประกาศมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นโยบายการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์แบบเจเนอเรทิฟ]

 

 

 

ทีมพัฒนา

Matthew พัฒนาโดยกลุ่ม AI Special Interest Group
ภายใต้การสนับสนุนของศูนย์นวัตกรรมการสอนและการเรียนรู้ (TLIC)


 

15.png

อ.ดร.กมลภพ ศรีโสภา

คณะวิทยาศาสตร์

Lead Developer​​

11.png

ผศ.ดร.รัศมีทิพย์ วิตา

คณะวิทยาศาสตร์

Backend consultant

3.png

ผศ.ดร.ชาย รังสิยากูล

ผู้อำนวยการ

ศูนย์บริหารจัดการเมืองเพื่อความยั่งยืน

Backend consultant​​

Project Lead & Advisors

8.png
AI SIG MEMBERS.png
6.png
13.png

อ. ดร.อานันท์ สีห์พิทักษ์เกียรติ

ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรม

การสอนและการเรียนรู้

Project Lead

AI Special Interest Group

รศ. ดร.รัฐสิทธิ์ สุขะหุต

รองอธิการบดี​

ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล

Project Lead

AI Special Interest Group

รศ. ดร.สิริวุฒิ บูรณพิร

Co-Founder Advisor

AI Special Interest Group

รศ. ดร.ถนอมพร เลาหจรัสแสง

ผู้เปี่ยมประสบการณ์ด้านการศึกษา

และเทคโนโลยีการเรียนรู้

Advisor

AI Special Interest Group

Research Team

9.png

รศ.ดร.พรรัตน์ วัฒนกสิวิชช์

คณะวิทยาศาสตร์

Research Team

7.png

ผศ.ดร.มณทิญา พ่วงทรัพย์

คณะมนุษยศาสตร์

Research Team

5.png

ผศ.ดร.อุดมโชค อาษาวิมลกิจ

คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์

Research Team

18.png

อ.วรลักษณ์ อังศุวรางกูร

คณะวิทยาศาสตร์

Research Team

2.png

อ.ดร.วรวิทย์ เทพแสน

วิทยาลัยนานาชาตินวัตกรรมดิจิทัล

Research Team

4.png

รศ.ดร.สุทธิดา จำรัส

คณะศึกษาศาสตร์

Research Team

ข้อมูลการติดต่อ

หากผู้ใช้งานต้องการความช่วยเหลือเพิ่มเติม สามารถติดต่อทีมสนับสนุนของ TLIC ได้ผ่านทาง Line, e-mail, Website

bottom of page